Skip to main content

แบบทดสอบนี้รองรับภาษาดังต่อไปนี้

แบบทดสอบโซชีโอพาธ 3 นาที

จากผลงานของ ดร.จอห์น เอ็ม. โกรโฮล (จิตวิทยาดุษฎีบัณฑิต)

คำแนะนำ: ด้านล่างนี้คือรายการคำถามที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ชีวิตที่พบได้บ่อยในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะโซชีโอพาธ โปรดอ่านคำถามในแต่ละข้ออย่างละเอียด และระบุว่าคำถามเหล่านั้นตรงกับตัวคุณหรือไม่

ความเป็นส่วนตัวของคุณได้รับการคุ้มครอง ผลลัพธ์ทั้งหมดไม่มีการระบุชื่อ

คำถามที่ 1 จาก 10

ฉันไม่เห็นประโยชน์ของการแสดงความรับผิดชอบ มันเป็นแค่ตัวถ่วงของพวกเราเท่านั้น

ต่อไป

แบบทดสอบโซชีโอพาธ 3 นาทีของไอดีอาร์แล็บส์ (IDR-3MST) ได้รับการพัฒนาโดยไอดีอาร์แล็บส์ (IDRlabs) แบบทดสอบชุดนี้อ้างอิงผลงานของผู้มีวิชาชีพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการศึกษาเท่านั้น แบบทดสอบชุดนี้ไม่เกี่ยวข้องกับนักวิจัยเฉพาะทางในสาขาจิตพยาธิวิทยาหรือสถาบันวิจัยต้นสังกัดใด ๆ

แบบทดสอบโซชีโอพาธ 3 นาทีของไอดีอาร์แล็บส์ได้รับข้อมูลจากงานวิจัยของไมเคิล เลวินสัน รองศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยา, รอเบิร์ต แฮร์ ที่ปรึกษาเอฟบีไอ และผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ สำหรับความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภาวะโซชีโอพาธ (ซึ่งบางครั้งเรียกว่าภาวะไซโคพาธ, ความผิดปกติทางบุคลิกภาพชนิดต่อต้านสังคม, เอเอสพีดี หรือเอพีดี) โปรดอ่านบทความ Levenson, M.R., Kiehl, K.A, Fitzpatrick, C.M. (1995). Assessing psychopathic attributes in a noninstitutionalized population. Journal of Personality and Social Psychology, 68, 151-158.; Miller, J.D., Gaughan, E.T., and Pryor, L.R. (2008). The Levenson Self-Report Psychopathy Scale. An Examination of the Personality Traits and Disorders Associated With the LSRP Factors. Assessment, 15, 450-463. และ Sellbom, M. (2011). Elaborating on the construct validity of the Levenson self-report psychopathy scale in incarcerated and non-incarcerated samples. Law and Human Behavior, 35, 440-451.

ผลงานของ ดร.เลวินสันและคุณแฮร์ยังได้ให้ข้อมูลแก่เครื่องมือและอุปกรณ์คัดกรองที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ เช่น แบบทดสอบระดับของอาการทางจิต (Psychopathy Spectrum Test) และไซโคพาธีเช็กลิสต์ (Psychopathy Checklist) แบบทดสอบทั้งสองพร้อมให้บริการแล้วในขณะนี้ อุปกรณ์ทั้งหมดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือคัดกรองสำหรับการใช้งานทางคลินิกและได้รับการออกแบบเป็นการเฉพาะสำหรับใช้โดยผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพจิตที่ผ่านการรับรองคุณวุฒิ แบบทดสอบชุดนี้จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไอดีอาร์แล็บส์และแบบทดสอบโซชีโอพาธ 3 นาทีของไอดีอาร์แล็บส์นี้ไม่เกี่ยวข้องกับนักวิจัยข้างต้น รวมทั้งองค์กรหรือสถาบันต้นสังกัดของพวกเขา

แบบทดสอบโซชีโอพาธ 3 นาทีมีพื้นฐานมาจากเครื่องมือที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในการประเมินแนวคิดทางคลินิกของภาวะโซชีโอพาธ (ซึ่งบางครั้งเรียกว่าภาวะไซโคพาธหรือความผิดปกติทางบุคลิกภาพชนิดต่อต้านสังคม) อย่างไรก็ตาม แบบสอบถามออนไลน์ฟรีเช่นนี้เป็นเพียงตัวบ่งชี้ในเบื้องต้นเท่านั้น และไม่สามารถประเมินความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่คุณอาจจะมีได้อย่างแม่นยำและเป็นเอกเทศ แบบสอบถามนี้จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น การประเมินสุขภาพจิตอย่างถูกต้องเด็ดขาดสามารถกระทำได้โดยผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพจิตที่ผ่านการรับรองคุณวุฒิเท่านั้น

ในฐานะผู้เผยแพร่แบบทดสอบโซชีโอพาธ 3 นาทีออนไลน์ฟรีซึ่งช่วยให้คุณตรวจกรองสัญญาณและอาการความผิดปกติทางบุคลิกภาพด้วยตนเองนี้ เราพยายามทำให้แบบทดสอบมีความน่าเชื่อถือและความสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ผ่านกระบวนการควบคุมทางสถิติและตรวจสอบความถูกต้อง อย่างไรก็ตาม แบบสอบถามออนไลน์ฟรีอย่างแบบทดสอบโซชีโอพาธ 3 นาทีชุดนี้ไม่ได้ให้การประเมินหรือคำแนะนำในฐานะผู้มีวิชาชีพแต่อย่างใด โดยแบบทดสอบชุดนี้จัดเตรียมไว้ให้ “ตามที่เป็น” เท่านั้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบทดสอบและแบบสอบถามออนไลน์ของเรา โปรดอ่านข้อกำหนดในการให้บริการของเรา

เหตุผลที่ควรทำแบบทดสอบนี้

1. ฟรี แบบทดสอบโซชีโอพาธ 3 นาทีชุดนี้ส่งถึงคุณโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เมื่อคุณทำแบบทดสอบเสร็จ คุณจะได้รับผลคะแนนที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางบุคลิกภาพอันขึ้นชื่อในทางลบนี้

2. มุ่งเน้นทางคลินิก ผลป้อนกลับที่ส่งโดยเครื่องมือทดสอบชุดนี้คำนวณขึ้นโดยอ้างอิงผลงานของนักวิจัยสาขาจิตวิทยาและที่ปรึกษาจากเอฟบีไอ และได้รับการออกแบบมาเพื่อให้เห็นภาพทางคลินิกที่ชัดเจนของอาการในปัจจุบันของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยบ่งชี้ภาวะโซชีโอพาธตามที่วัดได้จากหน่วยข้อมูลที่มีมาตรฐาน

3. การควบคุมทางสถิติ การวิเคราะห์ทางสถิติของแบบทดสอบชุดนี้ได้รับการดำเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าคะแนนการทดสอบมีความแม่นยำและถูกต้องที่สุด

4. จัดทำขึ้นด้วยความช่วยเหลือจากผู้มีวิชาชีพ แบบทดสอบโซชีโอพาธชุดนี้จัดทำขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจากผู้ประกอบอาชีพด้านจิตวิทยาและงานวิจัยเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างปัจเจกบุคคล